เมนู

ของพวกเราได้อาหารสองมื้อ คือในเวลาเย็นและเวลาเช้า ไฉนหนอพวกเรา
พึงแบ่งถวายข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ จากอาหารมือเช้าของม้า
ตัวหนึ่ง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ลำบาก ทั้งม้าก็จัก
พอยังชีวิตให้เป็นไปได้.
พวกพ่อค้าเหล่านั้น จึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายเรียนบอกข้อความ
นั่นให้ทราบ แล้วเรียนขอว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงได้รับข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แล้วทำให้เป็นอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งฉันเถิด
ดังนี้แล้ว จึงได้ตกแต่งข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ไว้ทุกวัน ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า.
บทว่า ปญฺณตฺตํ แปลว่า ได้ตั้งไว้แล้ว โดยสังเขปอย่างนิตยภัต.

[อรรถาธิบาย ปุพพัณหสมัยศัพท์]


บัดนี้ ควรทราบวินิจฉัยในคำว่า ภิกฺขู ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา
เป็นต้นต่อไป :-
บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ แปลว่า สมัยอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งวัน
อธิบายว่า ในปุพพัณหสมัย. อีกอย่างหนึ่ง สมัยตอนเช้า ชื่อว่า ปุพพัณห-
สมัย ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ขณะหนึ่งในเวลาเช้า. เมื่ออธิบายอย่างนี้
ทุติยาวิภัตติ ย่อมได้ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยค.
บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า นุ่งห่มแล้ว. บทว่า นิวาเสตฺวา
นั่นพึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการผลัดเปลี่ยนการนุ่งห่มในวิหาร. ในกาลก่อน
แต่เวลาเที่ยวบิณฑบาตนั้น ภิกษุเหล่านั้น จะไม่ได้นุ่งห่ม ก็หามิได้เลย.